ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS)

โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง, โรคซาร์ส

โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาคมโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 การระบาดเริ่มต้นจากมีผู้ป่วยโรคปอดบวมไม่ทราบสาเหตุเกิดขึ้นในมณฑลกวางตุ้งของจีนในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลาไม่กี่เดือน ภายหลังพบว่าสาเหตุของการระบาดเกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส (Coronavirus) สายพันธุ์ใหม่ โรคนี้ได้แพร่ไปยังพื้นที่อื่น ๆ รวม 29 แห่ง องค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 รวมแล้วมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 8,096 ราย เสียชีวิต 774 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 9.6 (ข้อมูลวันเริ่มป่วยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546) นับเป็นการระบาดที่มีผลกระทบรุนแรงทั้งด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย พื้นที่ที่มีการระบาดมากได้แก่ ปักกิ่ง ฮ่องกง ไต้หวัน โตรอนโต สิงคโปร์ และ ฮานอย
สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เข้าข่ายโรคซาร์ส 9 ราย เสียชีวิต 2 ราย

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015